การท่องเที่ยวหลายคนอาจจะนึกภาพถึงท้องทะเลสีฟ้าคราม, ผืนป่ากว้างใหญ่, ทุ่งดอกไม้สีสันสวยงามสุดลูกหูลูกตา, น้ำตกสายใหญ่เล่นอย่างสบายใจ หรือแม้จะเป็นถ้ำที่เต็มไปด้วยหินงอก หินย้อย ความลึกลับของธรรมชาติ ฯลฯ คำถามก็คือว่าหากชุมชนของเราไม่มีแบบนั้น เราจะสามารถสร้างชุมชนให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ได้หรือไม่ ต้องมาดูคำตอบที่ชุมชนบ้านนาต้นจั่นแห่งนี้ง
ชุมชนบ้านนาต้นจั่น จังหวัดสุโขทัย
ชุมชนบ้านนาต้นจั่น จังหวัดสุโขทัย ต้องบอกว่าเดิมทีก็เป็นเพียงแค่ชุมชนเล็กที่พบเห็นได้ทั่วไปในภาคกลางของประเทศไทย แต่คุณแม่เสงี่ยมได้มีแนวคิดจะสร้างสรรค์ให้ชุมชนมีรายได้เข้ามาเพื่อต้องการจะดึงลูกหลานไปทำงานเมืองใหญ่ให้กลับมาบ้านดูแลกันเหมือนเดิม จึงเกิดการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และ ธุรกิจโฮมสเตย์ขึ้นมา ธีมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านนาต้นจั่นนั้น พวกเค้าจะขายความเป็นชุมชนที่เรียบง่าย ขายความเป็นมา และที่สำคัญพวกเค้าขายความเป็นวิถีชีวิตชุมชนที่เรียบง่าย เป็นทางเลือกให้กับใครก็ตามที่เบื่อหน่ายอยากจะหนีความวุ่นวายในเมืองหลวง ทิ้งทุกอย่างไว้ตรงนั้นสักพัก แล้วมานอนที่กระท่อมไร่ปลายนา รับลมเย็นมองไปเห็นท้องทุ่งสีเขียวสุดลูกหูลูกตา พร้อมกับรับประทานอาหารท้องถิ่น และซื้อของที่ระลึกกลับบ้าน แค่นี้เอง
โฮมสเตย์แบบ โฮมสเตย์จริงๆ
สำหรับโฮมสเตย์ หลายแห่งไม่ประสบความสำเร็จ เพราะว่าไปแล้วมันไม่ใช่โฮมสเตย์จริง แต่เป็นรีสอร์ตที่เอาคำว่า โฮมสเตย์มาหลอกขายนักท่องเที่ยวมากกว่า แต่ไม่ใช่กับชุมชนแห่งนี้ บ้านโฮมสเตย์นี่เป็นบ้านสำหรับโฮมสเตย์จริง ด้านหนึ่งมีการรับรองตามมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยที่มีการตรวจสอบเป็นระยะ บ้านโฮมสเตย์ก็เป็นบ้านของชุมชนจริงๆทำให้เรารู้สึกว่า เราได้นอนบ้านที่เป็นโฮมสเตย์ของชุมชนจริง นอนแล้วให้อารมณ์เหมือนไปนอนบ้านญาติของเพื่อนเวลาไปต่างจังหวัด
อาหารท้องถิ่นประจำชุมชน
ไปถึงที่นั่นทั้งที เราต้องมองหาอาหารประจำถิ่นก่อนเลย สำหรับที่นี้อาหารที่เราไม่อยากให้พลาด นั่นก็คือ ข้าวเปิ๊บ มันคือการเอาข้าวสารมาโม่ด้วยหิน แล้วกรองด้วยผ้าขาวจนกลายเป็นแป้งเปียกข้น เอาแป้งไปทำคล้ายกับข้าเกรียบปากหม้อ พอจะสุกจะใส่เครื่องลงไปมีวุ้นเส้น ผักบุ้ง ผัง แล้วก็อบให้สุก จากนั้นพับแป้งใส่ไข่ ตักใส่ชาม บอกเลยว่าอร่อยมาก หรือจะไปกินเมนูอื่นที่พัฒนามาจากข้าวเปิ๊บก็ได้ เปิดประสบการณ์การกินอีกหน้าหนึ่งของเราเลย
สะพานไม้กลางทุ่งนา
มาถึงจุดท่องเที่ยว เช็คอิน ถ่ายรูป เดินพักผ่อนของชุมชนแห่งนี้แล้ว นั่นก็คือ สะพานไม้กลางทุ่งนา สะพานไม้ที่ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นที่รองทางเดินยาวประมาณ 1.5 กิโลเมตร ระหว่างทางเราจะได้เดินผ่านทุ่งนาสีเขียวสุดลูกหูลูกตา จะถ่ายรูปเดินเล่น หรือ นั่งห้อยขามองชีวิตเดินผ่านไปอย่างช้าๆก็ดีเหมือนกัน แนะนำว่าควรไปช่วงเวลาเย็นจะไม่ร้อน เดินได้จนสุดท้าย อีกทั้งช่วงแสงจากตะวันตกดินหามุมให้ดีภาพจะสวยงามมาก
ผ้าหมักโคลน
มาถึงอีกหนึ่งของดีประจำถิ่นของที่นี่
นั่นก็คือ ผ้าหมักโคลน ซึ่งกระบวนการทำก็ตามชื่อเลย
เค้าเอาผ้ามาหมักกับโคลนเพื่อให้ผ้านิ่มขึ้น แล้วเอาไปย้อมทับสีตามต้องการ
ทำให้ได้ผ้าทั้งนิ่มและมีสีสันสวยงามตามต้องการ
เราจะได้เข้าไปชมถึงกระบวนการทำงานของชาวบ้านที่นี่ตั้งแต่การหมักเลย
แนะนำว่าไปถึงแล้วอย่าลืมซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้านกันมาด้วย สัก 1-2 ชิ้นเป็นการให้กำลังใจชาวบ้านในพื้นที่ด้วย