หัวข้อ ชีวิตการเป็นอยู่ของชุมชน บ้านป่าแป๋

จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีอะไรน่าสนใจซ่อนอยู่เยอะมาก น่าเสียดายที่หลายคนมองข้ามจังหวัดนี้ไปด้วยเหตุผลบางอย่าง จุดเด่นอย่างหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอนก็คือ จังหวัดนี้ยังไม่เจริญมากนัก เรายังพบเห็นวิถีชีวิตแบบชุมชนเหมือนเมื่อสักประมาณ 40 ปีที่แล้วได้เลย ยิ่งเป็นชุมชนในที่สูงตามดอย บางแห่งเป็นภาพที่เราไม่ได้เห็นนานมากแล้ว วันนี้เราจะมาแนะนำอีกหนึ่งชุมชนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่หากเป็นไปได้เราขอเชิญชวนทุกคนไปสัมผัสกันสักครั้ง ข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน บ้านป่าแป้ เป็นชุมชนแห่งหนึ่งทางภาคเหนือ ชุมชนของที่นี้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกตัวเองว่า ชาวละเวือะ ก่อตั้งชุมชนมาแล้วประมาณ 500 ปี บ้านป่าแป้มีประชากรประมาณ 100 หลังคาเรือน ระบบการปกครองเป็นแบบปกครองตัวเอง โดยมีผู้นำหมู่บ้านเรียกว่า สะมัง คอยดูแลความเรียบร้อย และไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในชุมชน ชุมชนแห่งนี้ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ดีเนื่องจากเป็นที่ราบเชิงเขามีลำห้วยอุมลานไหลผ่านทำให้สามารถทำเกษตรกรรมได้ตลอดทั้งปี ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงทำอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยจะใช้วิธีทำไร่หมุนเวียน กล่าวคือ ทำไร่ในพื้นที่นั้นเสร็จแล้วจะปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติ ไปทำบริเวณอื่นแล้วค่อยกลับมาทำใหม่หลังจากครบกำหนด ด้านความเชื่อมีกลุ่มที่เชื่อในผี และศาสนาควบคู่กัน (มีทั้งผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ ศาสนาพุทธ) ในกลุ่มชุมชนจะมีการแต่งกาย มีภาษาเป็นของตัวเองด้วย ความสวยงามของนาขั้นบันได ชุมชนแห่งนี้ หากเรามองออกไปนอกหมู่บ้าน เป็นพื้นที่ทำนา สำหรับที่นี่ความอุดมสมบูรณ์ถือว่ามากเลย มองไปทางไหนก็สีเขียวเต็มไปหมด ทีนี้พอหน้าทำนา เค้าจะทำนาแบบขั้นบันได หากเราไปในช่วงที่เค้าทำนา เราจะได้เห็นนาขั้นบันไดสีเขียวไล่ระดับชั้นลงมาเป็นภาพที่สวยงามมากทีเดียว บวกกับอากาศที่บริสุทธิ์ ทั้งสองอย่างจะทำให้เราลืมเรื่องราวความเครียดในชีวิตไปหมดเลยก็ว่าได้ นอกจากนั้นนาขั้นบันไดของพวกเค้าถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์รับประทานกันในครอบครัว ชุมชน หากเหลือก็จะส่งออกไปขายให้กับบุคคลภายนอกสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทางหนึ่ง สำนักสงฆ์ท่ามกลางธรรมชาติ ในชุมชนบ้านป่าแป้ พวกเค้ามีจุดรวมใจอันเป็นศูนย์กลางของคนในหมู่บ้านอยู่ที่หนึ่ง นั่นก็คือ สำนักสงฆ์บ้านป่าแป้ เป็นสำนักสงฆ์แห่งเดียวในหมู่บ้าน โดยสำนักสงฆ์ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงสุดของหมู่บ้าน ทำให้พอมองลงมาจะเห็นหมู่บ้านทั้งหมด ตัดกับแมกไม้สีเขียวสวยงามมากทีเดียว ภายในสำนักสงฆ์ เราจะเห็นพระอุโบสถแบบศิลปะล้านนา แกะสลักอย่างสวยงาม เป็นสีทองเหลืองอร่ามตั้งอยู่ ซึ่งเห็นแล้วเราจะตกตะลึงในความงดงามของพระอุโบสถหลังนี้ ด้านในเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปหินอ่อนสีขาว สวยงามมาก พอเราก้าวเข้าไปในอุโบสถ เราจะรู้สึกได้ถึงพลังแห่งความศรัทธาของคนที่สร้าง จนถึงคนที่คอยดูแลรักษาบริเวณนี้ ธนาคารข้าวแห่งแรกของโลก ถัดออกมาไม่ไกลจาก สำนักสงฆ์ เราจะได้พบกับสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของหมู่บ้านแห่งนี้ นั่นก็คือ ธนาคารข้าวแห่งแรกของโลก เล่าย้อนไปก่อนว่า มีอยู่ช่วงหนึ่ง ชุมชนบ้านป่าแป้ขาดแคลนข้าวอย่างมาก ทำให้ชุมชนลำบากเรื่องความมั่นคงทางอาหารอย่างมาก ตอนนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพันธุ์ข้าวให้กับชาวละว้า มาเพื่อปลูกไว้เป็นอาหาร จากนั้นได้นำพันธุ์ข้าวพระทานมาให้ตลอด เพื่อให้ชาวละว้า…

Read More

ชีวิตการเป็นอยู่ของชุมชน บ้านผาบ่อง

จังหวัดแม่ฮ่องสอน ถือว่าเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ชูเรื่องความแตกต่างทางชาติพันธุ์มาเป็นธีมในการผลักดันจังหวัดเข้าสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศเราได้อย่างน่าชื่นชมทีเดียว แม้ว่าพวกเค้าจะมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือ พวกเค้ามีความสุขเหมือนกัน พวกเค้ามีความสุขในรูปแบบของพวกเค้าเอง พร้อมทั้งยังเปิดรับนักท่องเที่ยวให้เข้าไปรู้จักพวกเค้ากันอีกด้วย อย่างเช่น ชุมชนบ้านผาบ่อง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชุมชนบ้านผาบ่อง เราขอเล่าเกี่ยวกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน สักหน่อย จังหวัดนี้ถือว่าเป็นจังหวัดที่สวยงามมาก อากาศดี บรรยากาศดี ส่วนหนึ่งมาจากเทือกเขาสูงที่โอบล้อมจังหวัดนี้ไว้ ทำให้มีธรรมชาติมีความสมบูรณ์ บวกกับประชากรจะอาศัยอยู่ในที่สูงทำให้มีวัฒนธรรมของตัวเองมาก โดย ชุมชนบ้านผาบ่อง เป็นหนึ่งในนั้น ในชุมชนนี้จะเป็นการรวมตัวกันของประชากรของกลุ่มก็คือ ชาวไทยใหญ่ และ กระเหรี่ยงขาว ซึ่งพวกเค้าแตกต่างกันแต่อยู่รวมกันได้อย่างมีความสุข จนเปิดเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมด้วย อาชีพของชุมชน สำหรับอาชีพของประชากรในชุมชน บ้านผ่าบ่อง นั้นส่วนใหญ่จะทำเกษตรกรรม (ทำนา) เป็นหลัก เพราะว่ามีสภาพพื้นที่ราบ อากาศดี ดินดี น้ำดี ทำให้การปลูกพืชอุดมสมบูรณ์มาก แถมข้าวที่ได้จากที่นี่ยังรับรองคุณภาพความอร่อย และความสดสะอาด แทบจะไม่มีสารเคมีด้วย แต่อีกหนึ่งรายได้จากเกษตรกรรมนั่นก็คือ ส้มสายน้ำผึ้ง ที่ต้องบอกเลยว่า หากเราได้ไปชิม แบบสดๆ ออกจากต้นล่ะก็ รสชาติมันจะแตกต่างจากส้มที่เราเคยกินมาอย่างทาบไม่ติดเลย กินแล้วรู้สึกสดชื่นเหมือนได้รับพลังงานจากธรรมชาติแบบนั้นเลย ความเชื่อ ด้านคติความเชื่อ จะเป็นความเชื่อตามหลักแนวคิดของกลุ่มชนของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไทยใหญ่ หรือ กลุ่มกระเหรี่ยงขาว พวกเค้าจะมีวัฒนธรรมประเพณีของพวกเค้าเอง ไม่ว่าจะเป็น ประเพณีหลู้ข้าวหยากู๊ , ประเพณีปอยส่างลอง , ประเพณีปอยจ่าตี่ เป็นต้น ซึ่งประเพณีแต่ละเรื่องจะถูกจัดทำขึ้นในแต่ละเดือน หากนักท่องเที่ยวไปเที่ยวในช่วงเดือนไหนก็จะได้ชมพิธีของเดือนนั้นด้วย แหล่งท่องเที่ยว ปัจจุบันชุมชนบ้านผาบ่อง ได้ปรับตัวเองให้เข้าสู่ยุคใหม่ด้วยการเปิดพื้นที่บางส่วนให้การเป็นแหล่งท่องเที่ยว พร้อมทั้งปรับให้เป็นการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์กันด้วย ซึ่งคนที่ไปเที่ยวนั้นจะได้สัมผัสบรรยากาศอันเงียบสงบ หนาวเย็น เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์แบบที่เราจะได้ฟอกปอดด้วยอากาศบริสุทธิ์กันเลยก็ว่าได้สำหรับแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนบ้านผาบ่องก็จะมี betflix เครดิตฟรี สะพานข้าว ก้าวเพื่อสุข สะพานไม้ไผ่มีความยาวกว่า 500 เมตร ที่ทอดยาวเหนือทุ่งข้าวเขียวขจี มองไปรอบด้านโอบล้อมด้วยภูเขา ท้องฟ้า และบรรยากาศดีๆ แบบ 360 องศา ยิ่งถ้าวันที่ไปแสงแดดออกด้วยนะ ถ่ายภาพมุมไหนออกมาก็สวย แถมเดินได้ครบทุกจุดแบบไม่ร้อนจนเกินไปด้วย…

Read More

ชีวิตการเป็นอยู่ของชุมชน บ้านจ่าโบ่

ประเทศไทยเรามีสภาพแวดล้อมมากมาย ทั้งภูเขา น้ำตก ทะเล ในป่า จนถึงเมืองใหญ่ตึกสูงระฟ้าแบบกรุงเทพ ซึ่งแต่ละพื้นที่แต่ละเมืองก็มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน ทำให้วิถีชีวิตของพวกเค้าแตกต่างกันด้วย วันนี้เราจะพาทุกคนขึ้นเหนือไปดูวิถีชีวิตของชาวบ้านทางภาคเหนือว่า เค้าอยู่กินกันอย่างไร บางทีเราอาจจะขอเปลี่ยนความวุ่นวายที่มีไปลองใช้ชีวิตแบบนั้นสั้นๆ สักครั้งหนึ่ง ชุมชน บ้านจ่าโบ่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาคเหนือเป็นอีกหนึ่งสภาพพื้นที่ที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมสูงมาก ยิ่งกับดอยสูง ภูเขาสูง ยิ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์เยอะแยะมากมาย ที่มีเอกลักษณ์ความเป็นอยู่ในรูปแบบของตัวเอง หนึ่งในกลุ่มที่เราจะแนะนำวันนี้ก็คือ ชุมชนบ้านจ่าโบ่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ถิ่นที่อยู่ของพวกเค้าตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ต.ปางมะผ้า อ.ปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามประวัติชาวบ้านในกลุ่มนี้จะมีการย้ายถิ่นฐานหลายครั้ง ก่อนจะมาปักฐานอยู่ในที่ปัจจุบัน โดยกลุ่มที่อยู่ปัจจุบันนี้เป็นชาวลาหู่ที่ย้ายมาจากห้วยยาว ผู้นำของกลุ่มก็คือ นายจาโบ่ ไพรเนติธรรม ความโดดเด่นของกลุ่มนี้ก็คือ ชุมชนนี้ประชากรจะใช้ภาษาและเครื่องแต่งกายแบบลาหู่ตามต้นกำเนิดของตัวเอง ปัจจุบันมีประชากรทั้งหมด 230 คน ประมาณ 50 ครัวเรือน โดยทุกครัวเรือนจะเป็นเพื่อนบ้านกันหมด อาชีพของพวกเค้าก็คือ ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ส่วนอาชีพรองเป็นการเก็บของป่าขาย รับจ้างทั่วไปในพื้นที่ วัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญ ชาวลาหู่ มีวัฒนธรรมประเพณีของตัวเองที่มีเอกลักษณ์ ประเพณีที่น่าสนใจก็ได้แก่ การเรียกขวัญไก่ พิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อของคนในพื้นที่ พวกเค้าเชื่อว่า หากดูกระดูกไก่จะสามารถทำนายอนาคตล่วงหน้าได้ พร้อมทั้งบอกทางแก้ไขหากเป็นเรื่องที่ไม่ดี สองการทำบุญเล็ก ทำบุญใหญ่ ในกรณีที่ทำบุญเล็กจะทำเมื่อคนในบ้านไม่สบาย แล้วยังไม่หายสักที ส่วนทำบุญใหญ่ จะทำเมื่อคนป่วยมีอาการหนักมาก ต้องทำบุญใหญ่ขึ้น สามประเพณีเลี้ยงผีบ้าน การอัญเชิญวิญญาณผีบรรพบุรุษมารับของเซ่นไหว้ เมื่อรับแล้ว บรรพบุรุษจะช่วยให้ลูกหลานอยู่ดีมีสุข สบายไปตลอด พิธีกินข้าวใหม่ การนำข้าวเก่ามานึ่งพร้อมกับต้นข้าวใหม่ เพื่อเป็นการกินก่อนสัตว์ที่เป็นศัตรูต้นข้าว ภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากเรื่องประเพณีประจำท้องถิ่นแล้ว ยังมีอีกหนึ่งอย่างที่อยากให้รู้กันก็คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น พวกเค้ามีภูมิปัญญาอันน่าภาคภูมิใจสองเรื่องด้วยกัน หนึ่งเป็นการนวดแผนโบราณ ใครไปเที่ยวบอกเลยว่า นวดสักคอร์สหนึ่งนะ หายเมื่อยจากการเดินทางไกลได้เลย ส่วนอีกอันเป็นการจักสาน เพื่อสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ของตัวเอง หากได้ไปเที่ยวแนะนำว่า ควรซื้อเป็นของฝากกลับบ้านสักหน่อย ก็ดี การท่องเที่ยว ปัจจุบันชุมชนบ้านจ่าโบ่ ได้มีการเปิดชุมชนให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชมวิถีชีวิตของพวกเค้าบ้างแล้ว…

Read More